วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่5

เรียนครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 12 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.


สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในครั้งนี้


                กิจกรรมในห้องเรียน

                          >>>ให้นักศึกษาวาดรูปของรักหรือของที่ชอบติดตัวเราในวัยเด็ก


***ของรักในวัยเด็ก มันเป็น"หมอน" หมอนที่แม่เอาให้และหมอนนี้มันคือหมอนที่เราชอบนอนกอดตลอด เป็นหมอนที่รู้สึกว่าเวลานอนฉันมีความสุข คิดถึงแม่ตลอดเวลาเลยค่ะ


                  >>>เรื่อง องค์ประกอบของภาษา


1.Phonology คือ ระบบเสียงของภาษา เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมามีความหมาย

2.Semantic    คือ ความหมายและภาษาคำศัพท์ คำที่มีความหมายหลายความหมาย

3.Syntax        คือ ระบบไวยากรณ์

4.Pragmatic  คือ ระบบการใช้ ใช้ภาษาให้ถูกสถานการณ์และกาลเทศะ

            แนวคิดการศึกษา

1. แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม

          ทฤษฎี Skinner (ใช้หนูในการทดลอง)
-สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
-ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้า และการตอบสนอง

          ทฤษฎี John B.Watson
-วางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
-วางเงื่อนไข พฤติกรรมของเด็ก สามารถทำให้เด็กทำตามได้
John B.Watsonพูดว่า หากมอบเด็กทารกที่มีสุขภาพดีกับเขา 12 คน เขาสามารถจะฝึกให้เด็กแต่ละคนเป็นในสิ่งที่เขาเลือกไว้ได้ ไม่ว่าจะเป็น หมอ แพทย์ โจร และอื่นๆ

สรุป

- ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์ 
- การเรียนภาษาเป็นผลจากพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม
- เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
- เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรม เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว
- เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้เด็กเลียนแบบ ตัวแบบมากขึ้น


2. แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา

Piaget เกิดสวิตสแลด์
                เด็กเรียนรู้จากปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
Vygotsky เกิดรัสเซีย
               เด็กเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม / บุคคลรอบตัว


3. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย

Arnold Gesell 
               พัฒนาการทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา


4. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด

Noam Chomsky
              เป็นภาษาที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด เรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ และภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นายในตัวมนุษย์

O.Hobart Mowrer
คิดค้นทฤษฎีความพึงพอใจ
              ความสามารถในการฟังและความเพลิดเพลินจากการได้ยิน และเสียงตัวเองเป็นสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการทางภาษา


^^*แนวทางการจักประสบการณ์ทางภาษา*^^

- เป็นสิ่งสะท้อนปรัชญา และความเชื่อ
- นำไปสู่การกำหนดความหมาย


***Richard and Rodger (1995)

ได้แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์เป็น 3 กลุ่ม
1. มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
2. มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
3. มุมมองด้านปฎิสัมพันธ์

ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนครั้งนี้

1. รู้และเข้าใจองค์ประกอบของภาษา

2. รู้จัก รอคอย ให้กำลังใจ และกระตุ้นให้เด็กลองพูดภาษาที่สอง 

3. สามารถเสริมสร้างพัฒนาการในการเรียนรู้และจัดประสบการณ์ของเราได้


เรียบเรียงโดย นางสาวสุภาวดี พรมภักดิ์ เวลา 0:29 น.

บันทึกอนุทิน ครั้งที่6

เรียนครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 19 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในครั้งนี้


      เรื่อง ภาษาทางธรรมชาติ


+ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย


๐สนใจ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบๆตัว
๐ช่างสงสัย ช่างซักถาม
๐มีความคิดสร้างสรรค์และจิตนาการ
๐ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
๐เลียนแบบคนรอบข้าง

+ทฤษฏีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ   Dewey / Piaget / Vygotsky / Haliday


๐เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และการลงมือกระทำ
๐เด็กเรียนรู้จากกิจกรรม การเคลื่อนไหวของตนเองและการได้สัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆ แล้วสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง
๐อิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่นๆ มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

+การสอนภาษาทางธรรมชาติ


๐สอนแบบบูรณาการ / องศ์รวม
๐สอนในสิ่งที่เด็กสนใจและมีความหมายสำหรับเด็ก
๐สอนสิ่งใกล้ตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน
๐สอดแทรกฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมกับการทำกิจกรรม
๐ไม่เข้มงวดกับการท่อง สะกด
๐ไม่บังคับให้เด็กเขียน

+หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ (นฤมนาเนียมหอม 2540)


              1. การจัดสภาพแวดล้อม
๐ตัวหนังสือที่ปรากฏในห้องเรียนจะต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ
๐หนังสือที่ใช้ จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว
๐เด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม

              2. การสื่อสารที่มีความหมาย
๐เด็กสื่อสารโดยที่มีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง
๐เด็ออ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
๐เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาส

              3. การเป็นแบบอย่าง
๐ครูอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้ให้เด็กเห็น
๐ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก

              4. การตั้งความคาดหวัง
๐ครูเชื่อมันว่าเด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียน
๐เด็กสามารถอ่าน เขียนได้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้น

              5. การคาดคะเน
๐เด็กมีโอกาสที่จะลองกับภาษา
๐เด็กได้คาดเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน
๐ไม่คาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่

              6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
๐ตอบสนองความหมายในการใช้ภาษาของเด็ก
๐ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็ก
๐ตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์

              7. การยอมรับนับถือ
๐เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
๐เด็กได้เลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง
๐ในช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน
๐ไม่ทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน

              8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
๐ให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่ใช้ภาษา
๐ครูจะต้องทำให้เด็กไม่กลัวทีจะขอความช่วยเหลือ
๐ไม่ตราหน้าเด็กว่าไม่มีความสามารถ
๐เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถ


^^^^ตัวอย่าง การสอนภาษาทางธรรมชาติ

ภาษาธรรมชาติ Whole Language ดร.วรนาท รักสกุลไทย, ดร.ภัทรดรา พันธุ์สีดา
แม้ไม่เรียนเขียนอ่านเป็นหลัก แต่ในช่วงปฐมวัย คุณครูสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้เด็กรักภาษาได้ด้วยทฤษฎี "ภาษาธรรมชาติ" โดยเน้นพัฒนาการเด็ก ฟัง พูด อ่าน เขียน วิธีนี้จะทำให้เด็กเกิดความรักในการเรียนภาษาที่ยั่งยืน ชมเทคนิคการจัดเรียนรู้ของ ดร.วรนาท รักสกุลไทย อ.อภิชนา สุ้ยเสริมสิน รร.เกษมพิทยา และ ดร.ภัทรดรา พันธุ์สีดา รร.อนุบาลวัดนางนอง

+บทบาทครู (นิรมล ช่างวัฒนชัย, 2541)


๐ครูคาดหวังเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน
๐ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่าน การเขียน
๐ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วนของเด็ก
๐ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์


กิจกรรมการร้องเพลงตามภาพและทำท่าทางตาม


 ประโยชน์ที่ได้รับ

               - เด็กสามารถบริหารร่างกาย และจดจำ คิด จิตนาการณ์ตามภาพได้



ภาพที่ 1 
"ตา หู จมูก จับ ให้ ถูก
จับ จมูก ตา หู
จับ ใหม่ จับ ให้ ฉัน ดู   จับ ใหม่ จับ ให้ ฉัน ดู
จับ จมูก ตา หู 
จับ หู ตา จมูก"



ภาพที่ 2
"แก้ว กะลา ขัน โอ่ง เป่าลูกโป่ง โอ่ง ขัน กะลา แก้ว"


ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนครั้งนี้


1. รู้และเข้าใจวิธีการสอนเด็กของภาษาของธรรมชาติ
2. เด็กแต่ละช่วงวัย ไม่ชอบการบังคับ เราต้องสอนเด็กอย่างเข้าใจและสอนเด็กในสิ่งที่ใกล้ตัวเด็กให้มากที่สุด
3. ครูต้องเข้าใจในตัวเด็กและเข้าใจไปใส่ในตัวเด็ก ดูแลอย่างใกล้ชิด
4. ครูต้องไม่คาดหวังว่าเด็กจะทำถูกหรือผิด เพราะเด็กยังไม่รู้เรื่องมากมายเราต้องยึดเด็กเป็นหลัก
5. ครูต้องสอนเด็กแบบองค์รวม ฟัง พูด อ่าน เขียน สร้างกิจกรรมในการเรียน ให้เด็กรู้สึกว่าการเรียนไม่หน้าเบื่อ เรียนรู้อย่างเข้าใจและหน้าจดจำ


เรียบเรียงโดย นางสาวสุภาวดี พรมภักดิ์ เวลา 21:50 น. 



สวัสดีจ้า


วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่4

เรียนครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 5 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.




สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในครั้งนี้

"อาทิตย์ที่แล้วอาจารย์สั่งงานกลุ่ม อาทิตย์นี้ให้นักศึกษาออกมารายงาน ตามที่ได้รับมอบหมาย" จาก>>>>>>

                          กลุ่มที่1 ภาษา 

                  1. ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์  มนุษย์ติดต่อกันได้  เข้าใจกันได้ก็ด้วยอาศัยภาษาเป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุด                  2. ภาษาเป็นสิ่งช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน เนื่องจากแต่ละภาษาต่างก็มีระเบียบแบบแผนของตน  ซึ่งเป็นที่ตกลงกันในแต่ละชาติแต่ละกลุ่มชน  การพูดภาษาเดียวกันจึงเป็นสิ่งที่ทำให้คนรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน  มีความผูกพันต่อกันในฐานะที่เป็นชาติเดียวกัน                  3. ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์  และเป็นเครื่องแสดงให้เห็นวัฒนธรรมส่วนอื่นๆของมนุษย์ด้วย  เราจึงสามารถศึกษาวัฒนธรรมตลอดจนเอกลักษณ์ของชนชาติต่างๆได้จากศึกษาภาษาของชนชาตินั้นๆ


                          กลุ่มที่2 แนวคิดทางภาษา

                   เพียเจต์ (Jean Piaget : 1896-1980) นักจิตวิทยาชาวสวิตเซอร์แลนด์ ได้เรียนจบปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ สาขาสัตววิทยา หลังจากที่เขาเรียนจบแล้วได้ทำงานกับนายแพทย์บีเนต์และซีโม ซึ่งเป็นผู้สร้างข้อสอบเชาวน์ เพียเจท์พบว่าคำตอบของเด็กเล็กกับเด็กโตจะตอบไม่เหมือนกัน และสรุปได้ว่า คำตอบของเด็กวัยต่างจะแตกต่างกันและไม่ควรด่วนสรุปว่าเด็กโตฉลาดกว่าเด็กเล็ก หรือคำตอบของเด็กเล็กจะผิดเสมอ
             เพียเจท์ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญา โดยเขาเชื่อว่าว่าเด็กทุกคนเกิดมาพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติตลอดเวลา และส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้

                1. กระทำ(Active)ก่อน โดยวางอยู่บนพื้นฐานที่มาแต่กำเนิด
                2. การจัดและรวบรวม(Oganization) หมายถึงมีการจัดระเบียบภายในเข้าเป็นระบบ ระเบียบและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาที่ปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
                3. การปรับตัว(Adaptation) หมายถึงการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมให้สมดุลย์ จะประกอบด้วยกระบวนการสำคัญ 2 อย่างคือ
                                   1. การดูดซึม (Assimilation) และ
                                   2. การปรับความแตกต่าง (Accommodation)



             จุดเริ่มต้นของการศึกษาพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก โดยเริ่มจากลูกทั้ง 3 คนของพวกเขา เป็นหญิง 1 คน ชาย 2 คน เพียเจต์ได้บันทึกและเขียนเป็นรายงานในการสังเกตของเขาไม่เฉพาะเป็นภาษฝรั่งเศษเท่านั้นที่ทำให้เข้าใจยาก แต่เนื้อหาและสาระก็ทำให้เข้าใจยากเหมือนกัน ต่อมาได้มีคนแปลเป็นภาษาอังกฤษและสรุปให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น 

                          กลุ่มที่3 พัฒนาการทางสติปัญญาแรกเกิด-2 ปี

                0-1 เดือน  ลูกกินนมแม่ทำให้ลูกได้รับความอบอุ่นจากแม่ได้อย่างเต็มที่

                2   เดือน  เริ่มทำเสียงอ้อแอ้  แสดงท่าทางดีใจเมื่อได้กินนม  เด็กจะเริ่มชันคอขึ้น  เมื่อควรอุ้มพาดบ่าหรือจับให้นอนคว่ำ เพื่อที่จะได้ส่งเสริมพัฒนาการของลูกให้ได้เร็วขึ้น

               3  เดือน  ลูกเริ่มชันคอได้ตรง  แม่อุ้มลูกในท่านั่ง  กินนมแม่อย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว  ต้องระวังหากยังไม่สามารถสบตา  นอนคว่ำชันคอไม่ได้  ก็ควรพาไปพบแพทย์

                          กลุ่มที่4 พัฒนาการด้านสติปัญญา 2-4 ปี

                 จีน  เพียเจต์  เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกัน จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก สรุปไว้ว่า เราไม่ควรไปเร่งรัดให้เด็กพัฒนาจากอีกขั้นไปอีกขั้น 

                          กลุ่มที่5 พัฒนาาดารเด็กช่วง 4-6 ปี

                               พัฒนาการทางภาษา เด็กอายุ 4 - 6 ปีบอกชื่่อ นามสกุล และที่อยู่ได้
  1. รู้จักเพศของตัวเอง
  2. ชอบถามทำไม เมื่อไร อย่างไร และถามความหมายของคำ และมักเป็นคำถามที่มีเหตุผลมากขึ้น
  3. เด็กวัยนี้สามารถขยายคำศัพท์ เด็กวัยนี้สามารถขยายคำศัพท์จาก 4,000 - 6,000 คำ และสามารถพูดได้ 5-6 ประโยคต่อคำ สามารถเล่าเรื่องซ้ำ 4 -5 ลำดับขั้น หรือ 4 -5 ประโยคในเรื่องหนึ่งได้
  4. เข้าใจคำถามง่ายๆ และตอบคำถามนั้นได้ แม้ในเด็กบางคนอาจจะยังพูดติดอ่าง แต่ก็สามารถแก้ไขได้
  5. ชอบเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่คิดขึ้นมาเอง ให้คนอื่นๆ ฟัง ทั้งพ่อแม่ คนรอบข้าง และเพื่อน
  6. คิดคำขึ้นมาใช้โต้ตอบกับผู้ใหญ่ได้
  7. มักให้ความสนใจในภาษาพูดของผู้ใหญ่ โดยเฉพาะคำแสลง หรือคำอุทาน
  8. ชอบเรื่องสนุก ตลก ชอบภาษาแปลกๆ ชอบฟังนิทานมาก และชอบฟังเพลง มักจะคอยฟังเวลาที่ผู้ใหญ่คุยกัน จดจำคำศัพท์ และบทสนทนาเหล่านั้น โดยเฉพาะคำแสลงหรือคำอุทาน
  9. สามารถบอกชื่อสิ่งของในภาพที่เห็นได้ หรือเล่าเรื่องที่พ่อแม่เคยอ่านให้ฟังได้ และจะเล่นเป็นสุนัข เป็ด หรือสัตว์ต่างๆ ในเรื่องนั้น พร้อมทำเสียงสัตว์เหล่านั้นประกอบได้
  10. สับสนระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องเล่าในหนังสือเด็ก

                          กลุ่มที่6 จิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย 

                         พัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นผลของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างวุฒิภาวะและการเรียนรู้ กล่าวคือ วุฒิภาวะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อย่างแน่นแคว้นกับการเรียนรู้ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ความสามารถบางอย่างอาจไม่เกิดขึ้นหรือเกิดช้ากว่าที่ควร เช่น ความสามารถในการใช้ภาษา เด็กที่มีวุฒิภาวะในการพูดจะสามารถเปล่งเสียงพูดออกมาได้เอง แต่ถ้าไม่ได้รับการสอนภาษาพูดก็จะใช้ภาษาพูดไม่ได้เลย ในทางตรงกันข้าม เด็กที่ยังไม่บรรลุวุฒิภาวะในการพูด ถึงแม้ว่าจะไดรับการเคี่ยวเข็ญฝึกภาษาพูดมากสักเพียงใด ก็ไม่อาจพูดได้ ถ้าเด็กยังไม่พัฒนาถึงวุฒิภาวะนั้น จึงเห็นได้ว่าเด็กแต่ละคนมีศักยภาพในการพัฒนาตนเองตามกำหนดเวลาเฉพาะของพัฒนาการนั้นๆ โดยธรรมชาติอันก่อความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นไปตามขั้นตอนของพัฒนาการ โดยมีสภาพแวดล้อมช่วยเสริมต่อพัฒนาการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ช่วงเวลาที่เด็กสามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่นี้ เรียกว่า ระยะพอเหมาะ (Optimal Period) ลักษณะพฤติกรรมที่เด็กสามารถแสดงออกเมื่ออยู่ในขั้นพัฒนาการนั้นๆ เรียกว่าพัฒนาการตามวัย (Developmenral Rask)เด็กที่แสดงพฤติกรรมตามขั้นพัฒนาการได้พอเหมาะกับวัยถือว่ามีพัฒนาการสมวัย

                          กลุ่มที่7 วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

                         การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
                         ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์  (Piaget)  ได้กล่าวถึง การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา  (Schemata)  เป็นวิธีที่เด็กจะเริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับสิ่งแวดล้อม    และสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการมี  2  อย่างคือ
                  1.   การขยายโครงสร้าง (Assimilation)  คือ  การที่บุคคลได้รับประสบการณ์หรือรับรู้สิ่งใหม่เข้าไปผสมผสานกับความรู้เดิม
                  2.      การปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Accommodation)  คือการที่โครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนำเอาความรู้ใหม่ที่ได้ปรับปรุงความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อม 


                          กลุ่มที่8  องค์ประกอบของภาษาทางด้านภาษา

                1. เสียง เกิดจากการเปล่งเสียงแทนพยางค์ และคำ

                2. พยางค์และคำ เกิดจากการประสมพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์

                ๓. ประโยค เกิดจากการนำ คำ มาเรียงกันตามลักษณะ โครงสร้างของภาษาที่กำ หนดเป็นกฎเกณฑ์หรือเป็นระบบไวยากรณ์ของแต่ละภาษา

                ๔. ความหมาย คือ ความหมายที่เกิดจากคำหรือประโยคเพื่อใช้ในการสื่อสารทำความเข้าใจกัน

ความรู้เพิ่มเติม           ภาษาไทยมีวิวัฒนาการมาตามลำดับ ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยพระโหราธิบดี ได้แต่งตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรก ชื่อ จินดามณี ขึ้น ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยกระทรวงธรรมการได้พิมพ์ตำราสยามไวยากรณ์เป็นแบบเรียน และเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีได้เรียบเรียงขึ้นใหม่ โดยย่อจากตำราสยามไวยากรณ์ จนถึง พ.ศ.๒๔๖๑ พระยาอุปกิตศิลปสารได้ใช้เค้าโครงของตำราสยามไวยากรณ์แต่งตำราหลักภาษาไทยขึ้นใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นตำราหลักภาษาไทย ที่สมบูรณ์และเป็นแบบฉบับหลักภาษาไทยที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน

                          กลุ่มที่9 หลักการจัดประสบการณ์ <ภาษาธรรมชาติ>   

                1.  จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวมอย่างต่อเนื่อง            
                2.  เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคล และบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่            
               3.  จัดให้เด็กได้รับพัฒนาโดยให้ความสำคัญทั้งกับกระบวนการและผลผลิต 


สิ่งที่ได้รับจากการฟังเพื่อนๆรายงานหน้าชั้นเรียน


                   ถึงภาษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการคิด ซึ่งจะนำไปสู่พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาในขั้นสูง ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสาร ทั้งในการแสดงออกถึงความต้องการ ความรู้สึกนึกคิด และข่าวสาร อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ โดยเป็นสื่อกลางที่ช่วยให้มนุษย์สามารถถ่ายทอดความคิดที่เป็นนามธรรมได้ การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อตนเองและตัวเด็กให้การพัฒนาตัวเด็กมากขึ้นกว่าเดิมยิ่งขึ้นไปได้อีกด้วยค่ะ


เรียบเรียงโดย นางสาวสุภาวดี พรมภักดิ์ เวลา 22:33

บันทึกอนุทิน ครั้งที่3

เรียนครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 28 มิถุนายน 2556
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.

^^"(ไม่มีการเรียนการสอนในวันนั้น เพราะทางมหาลัยจัดกิจกรรมวันรับน้องใหญ่)"^^

สิ่งที่ได้รับจากการศึกษากิจกรรมในครั้งนี้


      1. 
 คุณจะได้รู้จักมหาลัยมากขึ้นจากพี่ๆ
      2.  คุณจะมีเพื่อนเยอะขึ้น จะเกิดความรักเพื่อนมากขึ้นสนิทกันมากขึ้น
      3.  คุณจะมีพี่ให้คำปรึกษา เรื่องราวและเรื่องอื่นๆภายในมหาลัยได้      
      4.  จะได้รู้จักการใช้ชีวิตในการเสียสละเพื่อส่วนรวม รู้จักเคารพต่อกิจกรราทางสังคมมากขึ้น      

ภาพบรรยากาศในวันรับน้องใหญ่ค่ะ^^">>>>

เพื่อนๆที่น่ารักค่ะ

สายรหัสหนูเองค่ะ


กิจกรรมรับน้องค่ะ (พี่ไม่ได้โหดนะคะรักปี 1 นะคะ)


ปี 1 บูม
(บูมเอกพร้อม) พร้อม  วิ๊ด...บึ้ม  เบบี้ๆ เอรี่ ชายฮูด เบบี้ๆ เอรี่ ชายฮูด อีดูเค่ชั่น...ปฐมวัย


เรียบเรียงโดย นางสาวสุภาวดี พรมภักดิ์ เวลา 22:11 น.

สวัสดีจ้า

บันทึกอนุทิน ครั้งที่2

เรียนครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 21 มิถุนายน 2556
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.

เรียนเรื่อง : ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


 สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในครั้งนี้



                            เด็กปฐมวัยเรียนรู้ภาษา จากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวทั้งสิ่งแวดล้อมที่บ้าน และโรงเรียน เด็กจะเรียนรู้การฟังและการพูดก่อน เพราะการฟังและการพูดเป็นของคู่กัน เป็นพื้นฐาน

                            ทางภาษา กล่าวคือ เมื่อฟังแล้วก็ย่อมต้องพูดสนทนาโต้ตอบได้ การเรียนภาษาของเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ หรือตามหลักไวยกรณ์ แต่จะเป็นการเรียนรู้ จากการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว หรือเป็นการสอนแบบธรรมชาติ

                            ความสำคัญของภาษา 
                     1. เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ โดยปราศจากความสามารถพิเศษทางด้านการเรียนทางใดทางหนึ่ง                     
                    2. การเรียนรู้ ซึ่งรวมถึงการเรียนภาษาเกิดขึ้น โดยการที่สิ่งแวดล้อมเป็นผู้ปรับพฤติกรรมผู้เรียน                     
                    3. พฤติกรรมทั่วไปรวมทั้งพฤติกรรมภาษา ถูกปรับโดยแรงเสริมจากการตอบสนองที่เกิดขึ้นจากสิ่งเร้า                     
                    4. ในการปรับพฤติกรรมที่ซับซ้อนอย่างเช่นภาษา จะมีกระบวนการเลือกหรือทำให้การตอบสนองเฉพาะเจาะจงขึ้น



                             พัฒนาการทางภาษา
                                          1. ความพึงพอใจแห่งตน (The Autism Theory หรือ Austistic Theory)
                                          2. การเลียนแบบ (The Imitation Theory)                        
                                          3.  เสริมแรง (Reinforcement Theory)                      
                                          4.  การรับรู้ (Motor Theory of Perception)                        
                                          5.  ความบังเอิญจากการเล่นเสียง (Babble Buck)                        
                                          6.  ชีววิทยา (Biological Theory)                        
                                          7.  การให้รางวัลของพ่อแม่ (Mother Reward Theory) 

                     บทสรุปนะคะ

                         การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การเสริมแรง พัฒนาการทางภาษาเกิดขึ้นจากความพึงพอใจแห่งตน การเลียนแบบ การได้รับการเสริมแรง ฯลฯ พัฒนาการทางภาษาของเด็กในระยะแรกประมาณ 1 เดือน เด็กสามารถจำแนกเสียงต่าง ๆ ได้ และจะพัฒนาก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆจนประมาณ 4 – 5 ปีเด็กจะสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยหรือองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก ได้แก่ วุฒิภาวะ สิ่งแวดล้อม สถานภาพทางสังคม ฯลฯ อย่างไรก็ตามเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ภาษาได้ดี เมื่อเด็กมีความพร้อม ซึ่งความพร้อมของเด็กสามารถสอนหรือเตรียมให้แก่เด็กได้โดยการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็ก นอกจากนี้นักจิตวิทยาได้ให้แนวคิดไว้ว่าภาษาและการคิดมีความสัมพันธ์สอดคล้องกันอย่างใกล้ชิด เพราะมนุษย์เมื่อมีการสื่อสารจะเก็บข้อมูลต่าง ๆ โดยวิธีการจำ เด็กอายุขวบครึ่งเริ่มมีพัฒนาการของภาษาในส่วนที่รับเสียงและเปล่งเสียงพูด แต่การพูดจะพัฒนาค่อนข้างช้ากว่าการฟัง



ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนครั้งนี้


                     1. รู้และเจ้าใจการเรียนรู้ภาษาของเด็กนั้นเรียนรู้ได้เร็วมากเพราะเซลล์สมองและการเชื่อมต่อของเซลล์
สมองมีความพร้อมสูงมาก

                     2. รู้และเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ภาษาของเด็กจะผ่านการฟัง กิจกรรมที่จัดควรเป็นกิจกรรมที่เป็นการ
อ่านให้เด็กฟัง เล่านิทานให้เด็กฟัง และให้อ่านในเรื่องที่เด็กสนใจ

                     3. รู้และเข้าใจการให้เด็กเรียนรู้ภาษา สิ่งที่นำมาให้เด็กได้เรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นคำ ประโยคต่างๆ
                     
                     4. รู้และเข้าใจ และสามารถเป็นสื่อในการเรียนการสอบและพัฒนาการตัวเราเพื่อเอาไปใช้ในการเรียนการสอนของเราและรู้เข้าใจการพัฒนาการของตัวเด็กมาขึ้นในการดูแลตัวเด็ก



เรียบเรียงโดย นางสาวสุภาวดี พรมภักดิ์ เวลา 23:10 น.

สวัสดีจ้า

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่1

เรียนครั้งที่ 1

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 14 มิถุนายน 2556
ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในครั้งนี้

             *** ในวันนี้อาจารย์แนะแนวการเรียนการสอนแจกCourse Syllabus และแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 3คน เขียน My Mapping เรื่องการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

(ภาพการทำกิจกรรมในห้องเรียน)^^
My Mapping กิจกรรมในชั้นเรียน กลุ่มละ 3 คนค่ะ เรื่องการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 

(ภาพเขียนบันทึกอนุทิน)^^
การเรียนการสอนในครั้งที่ 1 ค่ะ

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนในครั้งนี้

      1.  มีความรู้ทางวิชาการด้านต่างๆ ที่น่าสนใจเพิ่มมากขึ้น
      2.  สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนไปใช้ในการประกอบอาชีพและการพัฒนาวิชาชีพของตน
      3.  นำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันของตนอย่างมีคุณภาพมากขึ้น

เรียบเรียงโดย นางสาวสุภาวดี พรมภักดิ์ เวลา 22:28 น.

ขอบคุณค่ะ