วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่6

เรียนครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 19 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 13.10 - 16.40 น.

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในครั้งนี้


      เรื่อง ภาษาทางธรรมชาติ


+ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย


๐สนใจ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบๆตัว
๐ช่างสงสัย ช่างซักถาม
๐มีความคิดสร้างสรรค์และจิตนาการ
๐ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
๐เลียนแบบคนรอบข้าง

+ทฤษฏีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ   Dewey / Piaget / Vygotsky / Haliday


๐เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และการลงมือกระทำ
๐เด็กเรียนรู้จากกิจกรรม การเคลื่อนไหวของตนเองและการได้สัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆ แล้วสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง
๐อิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่นๆ มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

+การสอนภาษาทางธรรมชาติ


๐สอนแบบบูรณาการ / องศ์รวม
๐สอนในสิ่งที่เด็กสนใจและมีความหมายสำหรับเด็ก
๐สอนสิ่งใกล้ตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน
๐สอดแทรกฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมกับการทำกิจกรรม
๐ไม่เข้มงวดกับการท่อง สะกด
๐ไม่บังคับให้เด็กเขียน

+หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ (นฤมนาเนียมหอม 2540)


              1. การจัดสภาพแวดล้อม
๐ตัวหนังสือที่ปรากฏในห้องเรียนจะต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ
๐หนังสือที่ใช้ จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว
๐เด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม

              2. การสื่อสารที่มีความหมาย
๐เด็กสื่อสารโดยที่มีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง
๐เด็ออ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
๐เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาส

              3. การเป็นแบบอย่าง
๐ครูอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้ให้เด็กเห็น
๐ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก

              4. การตั้งความคาดหวัง
๐ครูเชื่อมันว่าเด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียน
๐เด็กสามารถอ่าน เขียนได้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้น

              5. การคาดคะเน
๐เด็กมีโอกาสที่จะลองกับภาษา
๐เด็กได้คาดเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน
๐ไม่คาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่

              6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
๐ตอบสนองความหมายในการใช้ภาษาของเด็ก
๐ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็ก
๐ตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์

              7. การยอมรับนับถือ
๐เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
๐เด็กได้เลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง
๐ในช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน
๐ไม่ทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน

              8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
๐ให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่ใช้ภาษา
๐ครูจะต้องทำให้เด็กไม่กลัวทีจะขอความช่วยเหลือ
๐ไม่ตราหน้าเด็กว่าไม่มีความสามารถ
๐เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถ


^^^^ตัวอย่าง การสอนภาษาทางธรรมชาติ

ภาษาธรรมชาติ Whole Language ดร.วรนาท รักสกุลไทย, ดร.ภัทรดรา พันธุ์สีดา
แม้ไม่เรียนเขียนอ่านเป็นหลัก แต่ในช่วงปฐมวัย คุณครูสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้เด็กรักภาษาได้ด้วยทฤษฎี "ภาษาธรรมชาติ" โดยเน้นพัฒนาการเด็ก ฟัง พูด อ่าน เขียน วิธีนี้จะทำให้เด็กเกิดความรักในการเรียนภาษาที่ยั่งยืน ชมเทคนิคการจัดเรียนรู้ของ ดร.วรนาท รักสกุลไทย อ.อภิชนา สุ้ยเสริมสิน รร.เกษมพิทยา และ ดร.ภัทรดรา พันธุ์สีดา รร.อนุบาลวัดนางนอง

+บทบาทครู (นิรมล ช่างวัฒนชัย, 2541)


๐ครูคาดหวังเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน
๐ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่าน การเขียน
๐ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วนของเด็ก
๐ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์


กิจกรรมการร้องเพลงตามภาพและทำท่าทางตาม


 ประโยชน์ที่ได้รับ

               - เด็กสามารถบริหารร่างกาย และจดจำ คิด จิตนาการณ์ตามภาพได้



ภาพที่ 1 
"ตา หู จมูก จับ ให้ ถูก
จับ จมูก ตา หู
จับ ใหม่ จับ ให้ ฉัน ดู   จับ ใหม่ จับ ให้ ฉัน ดู
จับ จมูก ตา หู 
จับ หู ตา จมูก"



ภาพที่ 2
"แก้ว กะลา ขัน โอ่ง เป่าลูกโป่ง โอ่ง ขัน กะลา แก้ว"


ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนครั้งนี้


1. รู้และเข้าใจวิธีการสอนเด็กของภาษาของธรรมชาติ
2. เด็กแต่ละช่วงวัย ไม่ชอบการบังคับ เราต้องสอนเด็กอย่างเข้าใจและสอนเด็กในสิ่งที่ใกล้ตัวเด็กให้มากที่สุด
3. ครูต้องเข้าใจในตัวเด็กและเข้าใจไปใส่ในตัวเด็ก ดูแลอย่างใกล้ชิด
4. ครูต้องไม่คาดหวังว่าเด็กจะทำถูกหรือผิด เพราะเด็กยังไม่รู้เรื่องมากมายเราต้องยึดเด็กเป็นหลัก
5. ครูต้องสอนเด็กแบบองค์รวม ฟัง พูด อ่าน เขียน สร้างกิจกรรมในการเรียน ให้เด็กรู้สึกว่าการเรียนไม่หน้าเบื่อ เรียนรู้อย่างเข้าใจและหน้าจดจำ


เรียบเรียงโดย นางสาวสุภาวดี พรมภักดิ์ เวลา 21:50 น. 



สวัสดีจ้า


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น