เรียนครั้งที่ 5
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 12 กรกฎาคม 2556
สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในครั้งนี้
กิจกรรมในห้องเรียน
>>>ให้นักศึกษาวาดรูปของรักหรือของที่ชอบติดตัวเราในวัยเด็ก
***ของรักในวัยเด็ก มันเป็น"หมอน" หมอนที่แม่เอาให้และหมอนนี้มันคือหมอนที่เราชอบนอนกอดตลอด เป็นหมอนที่รู้สึกว่าเวลานอนฉันมีความสุข คิดถึงแม่ตลอดเวลาเลยค่ะ
>>>เรื่อง องค์ประกอบของภาษา
1.Phonology คือ ระบบเสียงของภาษา เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมามีความหมาย
2.Semantic คือ ความหมายและภาษาคำศัพท์ คำที่มีความหมายหลายความหมาย
3.Syntax คือ ระบบไวยากรณ์
4.Pragmatic คือ ระบบการใช้ ใช้ภาษาให้ถูกสถานการณ์และกาลเทศะ
แนวคิดการศึกษา
1. แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม
ทฤษฎี Skinner (ใช้หนูในการทดลอง)
-สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
-ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้า และการตอบสนอง
ทฤษฎี John B.Watson
-วางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
-วางเงื่อนไข พฤติกรรมของเด็ก สามารถทำให้เด็กทำตามได้
John B.Watsonพูดว่า หากมอบเด็กทารกที่มีสุขภาพดีกับเขา 12 คน เขาสามารถจะฝึกให้เด็กแต่ละคนเป็นในสิ่งที่เขาเลือกไว้ได้ ไม่ว่าจะเป็น หมอ แพทย์ โจร และอื่นๆ
สรุป
- ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
- การเรียนภาษาเป็นผลจากพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม
- เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
- เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรม เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว
- เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้เด็กเลียนแบบ ตัวแบบมากขึ้น
2. แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา
Piaget เกิดสวิตสแลด์
เด็กเรียนรู้จากปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
Vygotsky เกิดรัสเซีย
เด็กเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม / บุคคลรอบตัว
3. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
Arnold Gesell
พัฒนาการทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
4. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด
Noam Chomsky
เป็นภาษาที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด เรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ และภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นายในตัวมนุษย์
O.Hobart Mowrer
คิดค้นทฤษฎีความพึงพอใจ
ความสามารถในการฟังและความเพลิดเพลินจากการได้ยิน และเสียงตัวเองเป็นสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการทางภาษา
^^*แนวทางการจักประสบการณ์ทางภาษา*^^
- เป็นสิ่งสะท้อนปรัชญา และความเชื่อ
- นำไปสู่การกำหนดความหมาย
***Richard and Rodger (1995)
ได้แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์เป็น 3 กลุ่ม
1. มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
2. มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
3. มุมมองด้านปฎิสัมพันธ์
ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนครั้งนี้
1. รู้และเข้าใจองค์ประกอบของภาษา
2. รู้จัก รอคอย ให้กำลังใจ และกระตุ้นให้เด็กลองพูดภาษาที่สอง
3. สามารถเสริมสร้างพัฒนาการในการเรียนรู้และจัดประสบการณ์ของเราได้
เรียบเรียงโดย นางสาวสุภาวดี พรมภักดิ์ เวลา 0:29 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น